Karl Marx คือใครไปอ่านกันเล้ยยยย.....

in #thai5 years ago (edited)

มาร์กซ์ เกิดที่ประเทศเยอรมนี ใน ค.ศ. 1818 ในตระกูลชนชั้นกลางเชื้อสายเยอรมันยิว สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาเอก สาขาวิชาปรัชญา เมื่อ ค.ศ. 1841 จากมหาวิทยาลัยจีนา หลังจบการศึกษา เขาได้ยึดอาชีพนักเขียน และบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เขาได้ให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมปฏิวัติต่าง ๆ จึงทำให้ชีวิตของเขาต้องระเหเร่ร่อน และลี้ภัยในประเทศต่างๆ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และอังกฤษ จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตใน ค.ศ.1883 ชีวิตของมาร์กซ์อยู่ท่ามกลางความเฟื่องฟูของลัทธินายทุน อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติทางการค้า และอุตสาหกรรม กล่าวคือ นายทุนจะทำหน้าที่ควบคุมและผูกขาดการผลิตในทางเศรษฐกิจตลอดจนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในทุกด้าน ขณะที่กรรมกรผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน ทัศนคติของมาร์กซ์เช่นนี้จึงกลายเป็นแรงกระตุ้นให้เขาเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติสังคมเพื่อการมีชีวิตที่ดีขึ้นของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน ปรัชญาการเมืองของมาร์กซ์ หรือที่เรียกว่า มาร์กซิสม์ นั้น เป็นการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ โดยการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางสังคมกับพลังทางเศรษฐกิจ โดยใช้ทฤษฏีวิภาษวิธี-วัตถุนิยม ซึ่งเขาได้รับอิทธิพลมาจาก เฮเกล เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ อาจกล่าวได้ว่ามาร์กซิสม์นี้เป็นทั้งปรัชญาทางการเมือง ปรัชญาทางเศรษฐกิจ และกลยุทธในการปฏิวัติสังคม กล่าวคือในฐานะที่เป็นปรัชญาการเมือง ลัทธิมาร์กซ์มุ่งอธิบายโครงสร้างทางชนชั้นทางสังคมที่ได้เปรียบ ในฐานะที่เป็นปรัชญาทางเศรษฐกิจ ลัทธิมาร์กซ์มุ่งวิจารณ์วิถีแห่งการผลิตแบบนายทุนที่มีลักษณะกดขี่ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมาร์กซ์เห็นว่าในที่สุดก็จะทำให้ระบบการผลิตเช่นนี้ล่มสลายไปในที่สุด และในฐานะที่เป็นกลยุทธ์ของการปฏิวัติสังคม
karl-marx-wikimedia-commons.jpg
มาร์กซ์ได้มุ่งอธิบายถึงกลยุทธ์ของการปฏิวัติสังคม มาร์กซ์ได้มุ่งอธิบายถึงกลยุทธ์ในการล้มล้างลัทธินายทุนโดยการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อนำไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ ทรรศนะของมาร์กซ์มองวัตถุนิยมว่าเป็นทรรศนะที่ถูกต้อง เพราะไม่อธิบายว่าโลกถูกสร้างขึ้นด้วยอำนาจเหนือธรรมชาติ ส่วนปรัชญาจิตนิยมในความเห็นของมาร์กซ์นั้นเป็นปรัชญาที่ไม่ให้ความสำคัญแก่ชีวิตจริง ในทรรศนะของมาร์กซ์มองปรัชญาวัตถุนิยมของกรีก และโรมันว่าเป็นขั้นปฐมเท่านั้น มาถึงสมัยกลาง ปรัชญาที่เคยเป็นวิชาการอิสระได้ถูกนำไปรับใช้ศาสนจักร จนมาถึงสมัยใหม่ มาร์กซ์ได้ยกย่องนักปรัชญาวัตถุนิยม เช่น สปิโนซ่าเห็นว่าสสารเป็นพื้นฐานของเอกภพ เป็นต้น และนักปรัชญาวัตถุนิยม ให้ทรรศนะในเรื่องสสารที่สำคัญ เช่น บอกว่ามนุษย์เป็นสสารซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของสสาร และในด้านทฤษฎีความรู้ และอภิปรัชญายังคงให้ความสำคัญแก่สสาร อาจเป็นเพราะเขาไม่ชอบระบบศักดินา ศาสนาคริสต์ และปรัชญาจิตนิยม ซึ่งสิ่งนี้คือแรงบันดาลใจวาทะของมาร์กซ์ที่กล่าวว่า “ศาสนา คือ ยาเสพติดของประชาชน” ศาสนาเป็นเครื่องมือของชนชั้นสูง เพื่อรักษาสถานภาพทางสังคมแนวคิดของมาร์กซ์นั้นเห็นว่ามนุษย์ และชีวิตทางสังคมเป็นวัตถุอย่างหนึ่งย่อมมีการเคลื่อนไหว จึงต้องยึดหลักการวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ มาร์กซ์เห็นว่า มนุษย์ในสังคมแต่ละยุคต่างทำการผลิต จากนั้นความสัมพันธ์ทางการผลิตที่เหมาะกับสังคมยุคนั้นจึงอุบัติขึ้นเป็นที่มาของรากฐานทางเศรษฐกิจในสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดสภาวะทางสังคม เป็นสิ่งที่เข้าใจด้วยกระบวนการวิภาษวิธี
images (2).jpg