หลักการทำงานของระบบแก็สรถยนต์
หลักการทำงานของระบบหัวฉีดแก๊ส LPG
ระบบแก๊สในรถยนต์ทำหน้าที่จ่ายแก๊สแทนน้ำมันให้พอดีกับความต้องการของเครื่องยนต์ในทุกสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ และหยุดการจ่ายน้ำมัน เมื่อต้องการใช้เชื้อเพลิงแก๊ส
ระบบแก๊สเริ่มตั้งแต่ถ้าบรรจุแก๊สไม่เกิน 85% ของความจุถัง โดยจะถูกควบคุมด้วยลูกลอยที่มัลติวาล์ว ซึ่งจะมีแรงดันในถังประมาณ 7-8 bar ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และจะส่งน้ำแก๊สไปยังหม้อลดแรงดันแก๊ส (ช่างส่วนใหญ่เรียกหม้อต้มแก๊ส) เพื่อทำการลดแรงดันให้เหลือประมาณ 1-2 bars ก่อนฉีดเข้าท่อรวมไอดีของเครื่องยนต์ โดยผ่านหัวฉีดแก๊ส ซึ่งถูกควบคุมด้วยกล่องอิเลคทรอนิกส์ หรือ ECU แก๊ส
กล่อง ECU จะเป็นหัวใจหลักในการควบคุมการจ่ายแก๊ส ซึ่งจะรับสัญญาณมาจากเซ็นเซอร์หลายๆตัว เพื่อคำนวณปริมาณความต้องการเชื้อเพลิง และสั่งให้หัวฉีดแก๊สทำงาน จ่ายแก๊สในปริมาณที่ถูกต้องตามความต้องการของเครื่องยนต์ในสภาวะนั้นๆ
การควบคุมการจ่ายแก๊สของระบบหัวฉีดแก๊ส ส่วนใหญ่จะควบคุมเวลาการยกหรือการเปิดของหัวฉีดแก๊ส โดยที่กล่องอีซียู (ECU) จะสั่งไปยังคอล์ยของหัวฉีดแก๊ส ให้เปิดและปิดเป็นจังหวะๆ ถ้าต้องการปริมาณแก๊สน้อยก็เปิดแป๊บเดียว ถ้าต้องการปริมาณแก๊สมากก็เปิดให้นานขึ้น อย่างไรก็ดี ถ้าการติดตั้งเลือกขนาดของหัวฉีดแก๊สไม่เหมาะสม ก็ยากที่จะควบคุมให้จ่ายแก๊สได้พอดีถ้ารอบต่ำและรอบสูง ดังนั้นต้องติดตั้งกับช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น จึงจะทำให้ระบบแก๊สทำงานได้ดี ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์เหมือนตอนที่ใช้น้ำมัน
แต่อนาคตการควบคุมการจ่ายแก๊ส อาจจะควบคุมโดยวัดจากปริมาณการจ่ายแก๊สจริงๆ ก็ได้ โดยอาศัยอัตราการไหลของแก๊ส ซึ่งการทำงานของระบบแก๊สแบบนี้จะแม่นมากๆ แต่หัวฉีดแก๊สต้องตอบสนองได้เร็วมากด้วยถึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
สิ่งสำคัญที่สุดในการจ่ายแก๊สให้ได้ตามความถูกต้องของเครื่องยนต์ ก็คือหัวฉีดแก๊ส ซึ่งจะต้องตอบสนองได้ดี ทั้งการเปิดหัวฉีดต้องเร็ว ปิดก็ต้องเร็ว เพื่อควบคุมปริมาณของแก๊สได้ ตามคำสั่งของกล่อง ECU และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ หัวฉีดทุกๆหัวต้องจ่ายได้เท่าๆกัน การทำงานของเครื่